บริการ >> ศึกษาโครงการลดเสียง
Service
บริการ

ศึกษาโครงการลดเสียง

บริการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดเสียง (noise-control-feasible study) จะคล้ายกับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชน (EIA: Environment Impact Assessment) ต่างกันเพียง “การศึกษาโครงการลดเสียง” มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นเรื่องการป้องกันและควบคุมปัญหาเสียงรบกวนไม่ให้กระทบต่อผู้รับเสียงทั้งในและนอกโรงงาน วิธีการทำงานจะเริ่มจากการเข้าสำรวจแหล่งกำเนิดเสียงที่หน้างาน สำรวจสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ปฏิบัติงานของผู้ได้รับผลกระทบด้านเสียง รวบรวมข้อมูลเสียงทั้งระดับความดัง ความถี่ ความยาวคลื่น ทิศทางและกำลังงานเสียง ก่อนนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาทำการวิเคราะห์และแปรผล จากนั้นจึงนำผลที่ได้ไปเทียบกับมาตรฐานหรือข้อกำหนดของกฎหมาย และทำตัวแบบจำลองวิธีการลดเสียงแต่ละแนวทาง เพื่อให้ผู้ตัดสินใจได้ใช้ข้อเท็จจริงทั้งหมดที่มีในการแก้ปัญหาต่อไป

กรณีที่ปัญหาเสียงรบกวนมีความซับซ้อน หรือแหล่งกำเนิดเสียงไม่สามารถควบคุมเสียงได้ด้วยวิธีการทั่วไป เช่น ในพื้นที่เดียวกันมีแหล่งกำเนิดเสียงที่มีลักษณะเสียงใกล้เคียงกันหลายจุด เจ้าของแหล่งกำเนิดเสียงไม่สามารถชี้บ่งแหล่งกำเนิดเสียงที่แท้จริงได้ หรือการศึกษาแนวทางการลดเสียงโดยมิให้เกิดผลกระทบเรื่องอื่นตามมา เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปภายหลังจากการศึกษาและเก็บข้อมูลโดยละเอียด นอกจากนี้ “บริการศึกษาโครงการลดเสียง” ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน (Hearing Conservation Program) ได้อย่างมีประสิทธิผล เนื่องจากมีการทำงานเป็นขั้นตอน มีข้อมูลทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง (ข้อมูลเสียงและความสั่นสะเทือน ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ รวมไปถึงข้อมูลทุติยภูมิด้านสิ่งแวดล้อมอื่นที่เกี่ยวข้อง

สำหรับปัญหาเสียงดังเกินค่ามาตรฐานหรือเสียงดังรบกวนที่มีผลกระทบในวงกว้างและปัญหามีความซับซ้อนหรือยากต่อการควบคุมเสียง การศึกษาความเป็นไปได้ในการควบคุมเสียง (noise-control-feasible study)

จะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหา แนวทางการปรับปรุง ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาดำเนินการของแต่ละแนวทางรวมไปถึงระดับเสียงที่ลดลงภายหลังการปรับปรุงด้วยการแสดงผลในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (noise-simulation models)

กลุ่มผู้ใช้บริการ

  • ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของแหล่งกำเนิดเสียงรบกวน
  • ผู้เกี่ยวข้องที่ต้องดำเนินการลดเสียงในพื้นที่การผลิต
  • ที่ปรึกษาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษทางเสียง

 

วิธีการทำงาน

  • เก็บข้อมูลเสียงในพื้นที่ที่มีการรบกวน
  • จัดทำแผนที่เสียงและแผนที่ความถี่เสียง
  • ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความถี่ที่มีปัญหา
  • จัดทำตัวแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในสถานการณ์ต่างๆ
  • จัดทำแผนที่ความถี่เสียงเปรียบเทียบก่อนและหลังปรับปรุง
  • เสนอแนวทาง วัสดุ รูปแบบการก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายในการควบคุมเสียง

 

เครื่องมือ

  • เครื่องวัดเสียงแบบแยกความถี่ class-1 และ class-2
  • เครื่องถ่ายภาพความร้อน
  • เครื่องวัดความเร็วลม
  • ซอฟท์แวร์แผนที่ความถี่เสียง
  • ซอฟท์แวร์วิเคราะห์รายละเอียดความถี่เสียง
  • ซอฟท์แวร์สำหรับหาค่า SAC STC TL ของวัสดุ
  • ซอฟท์แวร์สำหรับทำตัวแบบจำลองในแต่ละสถานการณ์

 

สิ่งที่จะได้รับ

  • ทราบระดับค่าเสียงรบกวน (noise-annoyance level)
  • ทราบระดับความดันเสียง (sound pressure level)
  • ทราบความถี่เสียงรบกวน (disturb frequencies)
  • แผนที่ความถี่เสียง (octave/noise contour)
  • แนวทางการลดเสียงและค่าใช้จ่ายแบบละเอียด (practical solutions & cost)
  • โมเดลจำลองเปรียบเทียบระดับเสียงก่อนและหลังปรับปรุง (before vs after simulation)
  • รายงานบทสรุปสำหรับผู้บริหาร (executive summary report)